วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

หญ้าแฝก คืออะไร ประโยชน์ ยังไง มีคำตอบ

หญ้าแฝก คืออะไร ประโยชน์ ยังไง มีคำตอบ

 
ก่อนที่จะซื้อหญ้าแฝกมารู้จักหญ้าแฝกกันก่อนนะครับว่ามีกี่แบบกี่ประเภท
                           มีหญ้าแฝกลุ่มและดอนและมีลักษณะแตกต่างกันครับ
ทำไมทางร้านเราขายหญ้าแต่หญ้าแฝกลุ่ม เนืองจากหญ้าแฝกดอนใบคมมากทำการเพาะลำบากมาก จึงไม่ขายหญ้าแฝกดอน เราขายแต่หญ้าแฝกลุ่มเพราะใบไม่คม เพาะง่าย ลำต้นสะอาด ใบไม่เยอะ ไม่รก
อันดับที่ ๑.หญ้าแฝกลุ่ม
ลักษณะของหญ้าแฝกลุ่มมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยและจะต้นเล็กกว่า การหยังลึกของรากจะลงดินแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ รากจะใหญ่และยาว เป็นพืชที่ทนความร้อนและทนสภาพน้ำท่วม ทนทุกสภาพอากาศกว่าหญ้าแฝกดอน เป็นพืชที่อายุยืน ระบบการแตกก่อแตกรากจะขยายทางหัวของต้นหญ้าแฝกและข้อตา ทุกส่วนของลำต้น ยึดหน้าดินได้ดีมากและใบไม่คม เมื่อหญ้าแฝกสูงได้ที่แล้วประมาณ 2เมตรก็จะโน้มลงแล้วก็จะแตกกอใหม่ จากข้อตา มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.มีส่วนกว้าง 5-9 มม. เหมาะมากครับสำหรับนำไปปลุกยึดหน้าดิน หญ้าแฝกมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือลุ่มและดอน
  • หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ หมายเหตุหญ้าแฝกหอมก็อยู่ใตระกูลหญ้าแฝกลุ่ม จะคล้ายกับสงขลา3 มีรากที่มีกลิ่นหอม, ใบยาวตั้งตรง, สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร
  • หญ้าแฝกดอน รากไม่มีกลิ่น, ใบโค้งงอ, สูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์และเลย หญ้าแฝกดอนมีประโยชน์นอกเหนือจากยึดหน้าคือนำใบไม่ใช้ทำไพหญ้าแฝกมุงหลังคา แค่เท่านั้น และสำคัญใบคมมาก
ประโยชน์ของหญ้าแฝกหอม ทางร้านเรานะครับ  ประโยชน์ของหญ้าแฝกมีมากมาย หลักๆคือยึดหน้าดิน คือช่วยลดการพังทลายของหน้าดินเช่นขอบสระ บ่อบำบัดน้ำเสีย คันไดร์โรงงาน ขอบถนน หรืออีกมากมาย หญ้าแฝกก็จะทำหน้าที่ยึดหน้าที่ที่ลาดเอียงหรือที่ราบ ลดการพังทลายของหน้าดิน ราคาถูกและกลับคืนสู่ธรรมชาติ  แล้วประโยช์ที่ใช้เกี่ยวกับการเกษตรคือการเอาไปปลูกข้างๆต้นไม้ หญ้าแฝกรากจะหยังลงดินรึกมากคือหน้าแลงทำไมมันไม่ตายเพราะรากของหญ้าแฝกถึงน้ำ ดูดน้ำขึ้นมาเลี้ยงพืช  หญ้าแฝกของเราลำต้นจะเป็นเหมือนลำต้นหวายแต่ไม่ใหญ่เท่าหวายหรอก แต่ละต้นคล้ายกันตินนี้ลำต้นเอามาทำประโยชน์ได้หลายอย่างมากทำสินค้า OTOP ได้หลายอย่างมากกว่าหญ้าแฝกดอน

ที่มา: http://www.puedkankaset.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น